Monday, June 22, 2015

ความหมายของภาษีอากร

ภาษีอากร คือ ทรัพยากรที่โอนจากภาคเอกชนแบบบังคับไปสู่ภาครัฐเพื่อ
ใช้จ่ายในกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ของภาครัฐ เน้นประโยชน์ส่วนรวม
ของประชาชน โดยผู้เสียภาษีไม่จําเป็นต้องได้ประโยชน์ตามจํานวนเงินที่จ่าย
ประเภทของภาษีอากรแบ่งเป็นภาษีทางตรงและภาษีทางอ้อม ซึ่งกฎหมาย
ที่รัฐบาลใช้ในการเรียกเก็บภาษีคือ ประมวลรัษฎากร

วัตถุประสงค์ของภาษีอากร มีวัตถุประสงค์อยู่ 4 ประการ ได้แก่


  •  – การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรภายในประเทศ
  •  – การกระจายรายได้ที่เป็นธรรมหรือการลดความเหลื่อมลํ้าในสงคม
  •  – การธำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
  •  – การพัฒนาประเทศให้มีอัตราการขยายตัวที่เหมาะสม



กรมสรรพากร

จัดเก็บ "ภาษีอากร" ในราชอาณาจักรไทย

สิทธิและหน้าที่ผู้เสียภาษีอากรภาษีอากรที่กรมสรรพากรจัดเก็บแต่ละประเภท จะกำหนดสถานะผู้มีหน้าที่เสียภาษีและวิธีการเสียภาษีแตกต่างกันแล้วแต่กรณี ภาษีที่จัดเก็บจากรายได้นั้นครอบคลุมผู้มีรายได้ที่เป็น บุคคลธรรมดา คณะบุคคล และนิติบุคคลประเภทต่างๆ โดยมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้แตกต่างกันไป

ประเภทภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร 
ให้อำนาจกรมสรรพากรจัดเก็บภาษี 5 ประเภท ได้แก่
1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี แงไม่ได้แบ่งละกองมรดกที่ยั
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล 
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย เช่น มูลนิธิ สมาคม ฯลฯ
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
เป็นภาษีที่เก็บจากผู้ขายสินค้าในประเทศ การให้บริการในประเทศ และการ นำเข้าสินค้า ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใดๆ หากมีรายรับก่อนหักรายจ่ายจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาท โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่าง แทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การค้าอสังหาริมทรัพย์
5. อากรแสตมป์
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการกระทำ ตราสาร 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ เช่น สัญญาจ้าง สัญญากู้ยืมเงิน

กรมสรรพสามิต

ภาษีสรรพสามิต เป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าและบริการซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และศีลธรรมอันดี มีลักษณะเป็นสินค้าและบริการที่ฟุ่มเฟือย หรือได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ



การคำนวณภาษี
  • กรณีอัตราภาษีตามปริมาณ
                ภาษีสรรพสามิต = ปริมาณสินค้า x อัตราภาษีสรรพสามิต
  • กรณีอัตราภาษีตามมูลค่า
                ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษีสรรพสามิต
  • กรณีระบุอัตราภาษีทั้งตามปริมาณและตามมูลค่า 
                ให้คำนวณค่าภาษีสรรพสามิตจากทั้ง 2 อัตราก่อน และให้ใช้อัตราที่คิดเป็นเงินสูงกว่า
                 ตามมาตรา 4 ของ พ.ร.บ.พิกัดภาษีสรรพสามิต 2527  
  • กรณีสินค้านำเข้า
                 มูลค่า = ราคา CIF ของสินค้า + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมาย
                             ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน + ภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนด
                             ใน พ.ร.บ. (แต่ไม่รวมถึง VAT) + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีเพื่อมหาดไทย
        ดังนั้น
                 ภาษีสรรพสามิต = (มูลค่าดังกล่าว) x อัตราภาษีสรรพสามิต
        หรือ
                 ภาษีสรรพสามิต = {(C.I.F + อากรขาเข้า + ค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวม VAT) x 
                                            อัตราภาษีสรรพสามิต) หารด้วย (1-(1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต)}

กรมศุลกากร

ภาษีศุลกากร
       คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากการนำสินค้าเข้าจากต่างประเทศ หรือส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีนำเข้าเรียกว่า "อากรขาเข้า" และในกรณีส่งออกเรียกว่า "อากรขาออก" โดยจะจัดเก็บตามราคาหรือร้อยละของมูลค่าสินค้า และจัดเก็บตามสภาพของสินค้า ตามปริมาณ น้ำหนัก ความยาว หรือปริมาตร เป็นต้น

       ปัจจุบันประเทศไทยมีสินค้าที่จะต้อง "ชำระอากรขาออก" เพียง 2 ประเภทเท่านั้น คือ ไม้ และหนังโค-กระบือ นอกนั้นอัตราอากรเป็น 0% ทั้งหมด ส่วน "อากรขาเข้า" จัดเก็บตามพิกัดอัตราศุลกากร ซึ่งกรมศุลกากรได้นำระบบฮาร์โมไนซ์มาใช้ในการจัดหมวดหมู่ของสินค้า โดยแบ่งย่อยเป็นหมวด ตอน ประเภท และประเภทย่อย คือแบ่งเป็น 21 หมวด 91 ตอน แต่ละตอนจะประกอบด้วยประเภทและประเภทย่อยแตกต่างกัน ซึ่งการระบุสินค้าตามระบบฮาร์โมไนซ์จะกำหนดเป็นเลข 10 หลัก โดยที่ 7 หลักแรกจะเป็นเลขที่กำหนดโดยองค์การการค้าโลก ส่วนเลข 3 หลักหลัง เป็นรหัสสถิติที่กำหนดโดยแต่ละประเทศ

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้าสินค้า

1. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนบันทึกข้อมูลบัญชีราคาสินค้า (Invoice) ทุกรายการเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองหรือผ่าน Service Counter โดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะแปลงข้อมูลบัญชีราคาสินค้าให้เป็นข้อมูลใบขนสินค้าโดยอัตโนมัติ และให้ผู้นำเข้าหรือตัวแทนส่งเฉพาะข้อมูลใบขนสินค้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในใบขนสินค้าที่ส่งเข้ามา เช่น ชื่อและที่อยู่ผู้นำของเข้า เลขประจำตัวผู้เสียภาษี พิกัดอัตราศุลกากร ราคา เป็นต้น ถ้าพบว่าข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าที่ส่งมาไม่ถูกต้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะแจ้งกลับไปยังผู้นำเข้าหรือตัวแทนเพื่อให้แก้ไขให้ถูกต้อง
3. เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรตรวจสอบข้อมูลในใบขนสินค้าที่ส่งมาถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะออกเลขที่ใบขนสินค้าขาเข้า พร้อมกับตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ เพื่อจัดกลุ่มใบขนสินค้าขาเข้าในขั้นตอนการตรวจสอบพิธีการเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ แล้วแจ้งกลับไปยังผู้นำเข้าหรือตัวแทน เพื่อจัดพิมพ์ใบขนสินค้า ใบขนสินค้าขาเข้าที่ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Green Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์จะสั่งการตรวจ หลังจากนั้น ผู้นำเข้าหรือตัวแทนสามารถนำใบขนสินค้าขาเข้าไปชำระค่าภาษีอากรและรับการตรวจปล่อยสินค้าได้ ใบขนสินค้าขาเข้าที่ต้องตรวจสอบพิธีการ (Red Line) สำหรับใบขนสินค้าประเภทนี้ ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องนำใบขนสินค้าไปติดต่อกับหน่วยงานประเมินอากรของท่าที่นำของเข้า
4. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องจัดเก็บข้อมูลบัญชีราคาสินค้าตามวรรคแรกในรูปของสื่อคอมพิวเตอร์เป็นเวลา ไม่น้อยกว่า 6 เดือน เพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบใบขนสินค้าหลังการตรวจปล่อย โดยให้สามารถจัดพิมพ์เป็นรายงานเมื่อกรมศุลกากรร้องขอ ดังนี้

  1. 4.1 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY DECLARATION ITEM
  2. 4.2 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY INVOICE ITEM
  3. 4.3 IMPORT/EXPORT INVOICE LIST